วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เกาะหมาก

เกาะหมาก
เกาะหมาก ตั้งอยู่ที่ ตำบลเกาะหมาก กิ่งอำเภอเกาะกูด มีอยู่เพียง 2 หมู่บ้านคือ หมู่ 1 บ้านอ่าวนิ และหมู่ 2 บ้านแหลมสน มีประชากร ประมาณ 350 คน สภาพพื้นที่เกาะหมากเป็นที่ราบชายฝั่งและภูเขาสูงบางส่วน มีรูปร่างคล้ายดาวสี่แฉก ประชากรส่วนใหญ่ประกอบ อาชีพเกษตรกรรม ทำสวนมะพร้าว สวนยางพารา โดยรอบเกาะหมากจะมีหาดทรายขาวสะอาด โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นอ่าว 3-4 อ่าว คือ อ่าวสวนใหญ่ อ่าวพระ อ่าวขาว อ่าวนิด และที่หมู่เกาะใกล้ๆมี แหล่ง ปะการังที่สวยงามดังนั้น เกาะหมากจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยว ทางธรรมชาติที่สวยงามอีก แห่งหนึ่งของ หมู่เกาะในจังหวัดตราด ซึ่งใน2-3 ปีที่ผ่านมาเกาะหมากได้รับความนิยมจากนักท่องท่องเที่ยว
1. การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว
-จากกรุงเทพฯใช้ทางหลวงหมายเลข3 (บางนา-ตราด)เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวง หมายเลข 344(ชลบุรี-บ้านบึง-แกลง) เมื่อถึงอำเภอแกลง เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข3 ผ่านจังหวัดจันทบุรีจนถึงจังหวัดตราด รวมระยะทาง 315 กิโลเมตร ก่อนถึงท่าเรือแหลมงอบ จะมีร้านค้าตรงข้ามอนุสาวรียฺ์กรมหลวงชุมพรมีบริการรับฝากรถ คืนละ 50 บาท เป็นเต้นท์อย่างดี

2. รถแวนปรับอากาศ สามารคลิ๊กเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ http://www.boonsiriferry.com/en/service/bus.html

3. รถโดยสารประจำทาง
สามารถขึ้นรถได้ทั้งจากสถานีขนส่งหมอชิต และเอกมัย 
บริษัท โชคอนุกูล
กรุงเทพฯ-ตราด รถออกตั้งแต่เวลา 06.00-24.00น. โทรศัพท์ 0-2391-8097 ,0-2382-2098 
ตราด-กรุงเทพฯ รถออกตั้งแต่เวลา 06.30-17.30น.โทรศัพท์ 0-3951-1986 
บริษัทเชิดชัยทัวร์
กรุงเทพฯ(เอกมัย)-ตราด รถออกเวลา 14.00น. และ 23.30น.โทรศัพท์ 0-23924-7680 
ตราด-กรุงเทพฯ(เอกมัย) รถออกเวลา 06.30 และ 23.30น.โทรศัพท์ 0-3951-1208
บริษัทศุภรัตน์ทัวร์
กรุงเทพฯ(เอกมัย)-ตราด รถออกตั้งแต่เวลา06.00-23.00น.โทรศัพท์ 0-2931-2237 
ตราด-กรุงเทพฯ(เอกมัย) รถออกตั้งแต่เวลา07.00-23.30น.โทรศัพท์ 0-3951-1062 
กรุงเทพฯ(หมอชิต) โทรศัพท์ 0-2936-0199
กรุงเทพฯ(เอกมัย)-ตราด รถออกตั้งแต่เวลา08.30-22.30น.
โทรศัพท์ 0-2391-2331 
กรุงเทพฯ(หมอชิต)-ตราด รถออกตั้งแต่เวลา06.00-23.00น.โทรศัพท์ 0-2936-3388 
ตราด-กรุงเทพฯ(เอกมัย) รถออกตั้งแต่เวลา08.30-23.00น.โทรศัพท์ 0-3951-1481 
ตราด-กรุงเทพฯ(หมอชิต)รถออกตั้งแต่เวลา08.30-23.00น.โทรศัพท์ 0-3951-1481

- จากกรุงเทพถึง ตราด 
รถทัวร์ปรับอากาศจากเชิดชัยทัวร์ขึ้นที่เอกมัยมีหลายเวลาให้เลือกเดินทางรถจะออกเกือบทุกชั่วโมง เลือกเดินทางรอบสุดท้าย คือ 11.30 น.จะได้ถึงตราดในตอนเช้า ประมาณตี 4 กว่าๆ เพื่อขึ้นเรือที่แหลมงอบท่าเรือกรมหลวงให้ทันตอน 9.30 น.   แต่ก่อนถึงจ.ตราดประมาณตี 3กว่าๆจะมีพนักงานมาเรียกว่าไปท่าเรือแหลมงอบเพื่อต่อสองแถวให้ลงตรงนี้  อันนี้ส่วนตัวแนะนำว่ายังไม่ต้องลง เพราะอาจจะต้องไป นั่งตบยุงเล่นที่ท่ารถ ให้ไปลงสุดสาย ที่ท่ารถจ. ตราด เพราะระหว่างรอเวลายังสามารถนั่ง รถสองแถวไปหาอะไรกินที่ตลาด+ ซื้อของ

ตารางเรือไปเกาะหมาก

- จากแหลมงอบท่าเรือกรมหลวงไปลงที่เกาะหมาก ใช้เวลา 45 นาที
โดยเรือสปีดโบท์ มี 2 บริษัทคือ เรือปาหนัน และเรือลีลาวดี รอบเรือก็มีตามนี้
- เรือปาหนัน จากแหลมงอบมี 2 รอบ คือ 9.30 น. และ 14.00 น. , และขากลับจากเกาะหมาก มี 13.00 น. โทร 087 614 7641
- เรือลีลาวดี รายละเอียด http://www.kohmakboat.in.th/

จากท่าเรือแหลมศอก
1. เรือสปีดโบ๊ท 
- ศิริไวย์ สปีดโบ๊ท สามารถดูตารางเวลาและรายละเอียดดได้ที่   http://www.kohkoodboat.in.th/

2. เรือเร็ว เฟอรี่
- บุญศิริเรือเร็ว สามารถ คลิ๊กดูตารางเรือเพิ่มเติมที่ http://www.boonsiriferry.com/en/service/ferry.html
- เกาะกูด เอ็กซ์เพรส  สามารถดูตารางเวลาและรายละเอียดได้ที่  http://www.xn--12caa4b3b8c9a6cwa1av0g3dgd1nmb.xn--o3cw4h/  
- เกาะกูด ปรินซ์เซส  https://www.facebook.com/kohkoodprincesshighspeedboat
เกาะหมาก
ขออนุญาติต้นฉบับด้วยนะค่ะ  ขอบคุณค่ะ><

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เอเชียตะวันออก

เอเชียตะวันออก

เอเชียตะวันออก

ประวัติเอเชียตะวันออก About east asia
ประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกก็เหมือนกับประวัติศาสตร์ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือได้รับอิทธิพลและเกี่ยวพันโยงในกับจีนอย่างมากตัวอย่าง
เช่นบรรดาประเทศในเอเชียตะวันออกทั้งหมดได้เคยใช้ตัวอักษรจีนในบางช่วงของประวัติศาสตร์ในบางภูมิภาคของจีนญี่ปุ่นและเกาหลีซึ่งมีระบบการเขียนหนังสือ
เกี่ยวโยงกันในทางประวัติศาสตร์นั้นบางครั้งจะได้รับการอ้างอิงถึงรวมกันเป็นกลุ่ม

                           แผนที่ภูมิภาค

ตะวันออก ยูกันดา

ประเทศหรือภูมิภาคต่อไปนี้ บางครั้งก็ถูกจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออก ปัจจัยสำคัญที่สุดที่เป็นตัวกำหนดการจำแนกภูมิภาคดังกล่าวนี้คือ มุมมองทางด้านการเมืองที่แต่ละบุคคลมีต่อประเทศหรือภูมิภาคนั้นๆ เป็นหลัก
ประชากรมากกว่า 1,500 ล้านคน หรือประมาณ 40% ของของชาวเอเชียทั้งหมด หรือประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นภูมิภาคที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อัตราความหนาแน่นของประชากรในเอเชียตะวันออกอยู่ที่ 230 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราความหนาแน่นโดยเฉลี่ยของประชากรโลกถึง 5 เท่า
ประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกก็เหมือนกับประวัติศาสตร์ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ได้รับอิทธิพลและเกี่ยวพันโยงในกับจีนอย่างมาก ตัวอย่างเช่น บรรดาประเทศในเอเชียตะวันออกทั้งหมดได้เคยใช้ตัวอักษรจีนในบางช่วงของประวัติศาสตร์ ในบางภูมิภาคของจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งมีระบบการเขียนหนังสือเกี่ยวโยงกันในทางประวัติศาสตร์นั้น บางครั้งจะได้รับการอ้างอิงถึงรวมกันเป็นกลุ่มว่า CJK (หรือ CLKV เมื่อรวมเวียดนามด้วย)

ตรางแสดงชื่อประเทศประเทศ  เมืองหลวงเนื้อที่และประชากร


ประเทศพื้นที่ (ตร.กม.)ประชากรความหนาแน่น (คน/ตร.กม.)ดัชนีการพัฒนามนุษย์เมืองหลวง
ประเทศจีน สาธารณรัฐประชาชนจีน9,671,0181,335,612,9681380.772ปักกิ่ง
ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น377,944127,470,0003370.960โตเกียว
ธงของประเทศมองโกเลีย มองโกเลีย1,564,1162,736,80020.727อูลานบาตอร์
ธงของประเทศเกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือ120,54023,906,0001980.766เปียงยาง
ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้100,14050,062,0005000.937โซล
สาธารณรัฐจีน (2455-2492) ไต้หวัน36,19123,119,7726390.943ไทเป


ลักษณะภูมิอากาศ

1. ในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ลมที่พัดผ่านเกิดจากศูนย์กลางความกดดันอากาศสูงที่ไซบีเรีย ลมที่พัดผ่านมีคุณสมบัติและทิศทางแตกต่างกัน ดังนี้ ลมตะวันออกเฉียงเหนือคุณสมบัติเป็นลมหนาวเย็นเมื่อพัดผ่านแผ่นดินทางตอนเหนือของจีน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ จึงเป็นลมเย็นและแห้งแล้ง ลมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คุณสมบัติเป็นลมหนาวเย็น เมื่อพัดผ่านประเทศมองโกเลีย และดินแดนตอนในของจีนจึงทำให้พื้นที่ดังกล่าวหนาวเย็นและแห้งแล้ง
2. ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม อุณหภูมิของอากาศอุ่นขึ้น จะเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิ
3. ในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม แผ่นดินบริเวณทะเลทรายธาร์ในอินเดียเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ทำให้ลมเคลื่อนที่ผ่านญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ รวมทั้งไต้หวัน จึงทำให้ระยะนี้มีฝนตกชุกโดยทั่วไป ส่วนมองโกเลียมีฝนบ้างเล็กน้อย หรือไม่มีฝนเลย เนื่องจากความห่างไกลจากทะเล
4. ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน เป็นช่วงที่ปริมาณฝนเริ่มลดลงจากลมตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณดินแดนที่ตั้งอยู่เหนือเส้นขนานที่ 30 จะเริ่มหนาวเย็น ต้นไม้เริ่มทิ้งใบ เรียกว่า ฤดูใบไม้ร่วงปรากฎมากในภาคเหนือของจีน

ลักษณะภูมิประเทศ


ลักษณะภูมิประเทศ

1. ที่ลาบสูงมองโกเลีย อยู่ทางทิศเหนือของภูมิภาคเป็นที่ราบสูงหินเก่าที่ถูกโอบล้อมด้วยภูเขาหินใหม่ ทิวเขาที่สำคัญ คือ ทิวเขาอันไต ทิวเขาเทียนซาน ทิวเขาหนานซาน

2. ที่ราบสูงทิเบต อยู่ทางทิศใต้ของภูมิภาคเป็นที่ราบสูงหินใหม่ที่โอบล้อมด้วยภูเขาหินใหม่ได้แก่ ทิวเขาคุนหลุนซาน ทิวเขาโกราโกรัม ทิวเขาหิมาลัย

3. แอ่งทาริม เป็นแอ่งที่ราบที่ถูกโอบล้อมด้วยภูเขาเทียซานทิวเขาทาราโครัม ที่ราบสูงคุนลุน

4. ทิวเขาและที่สูง สภาพทั่วไปเป็นเขาและทิวเขาหินใหม่ที่มีอายุทางธรณีวิทยาในยุคเทอร์เชียรรี จึงยังคงพบปรากฎการณ์ของแผ่นดินไหวในบริเวณดังกล่าว
5. ที่ราบลุ่มน้ำ เอเชียตะวันออกมีที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ที่ลำน้ำไหลลงมหาสมุทรแปซิฟิก
6. เกาะและหมู่เกาะ เอเชียตะวันออกมีหมู่เกาะที่สำคัญชื่อเกาะไหหลำ

7. คาบสมุทรเกาหลี อยู่ระหว่างทะเลเหลืองกับทะเลญี่ปุ่น
 

ทำเลที่ตั้ง

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 18-54 องศาเหนือที่ชายแดนจีนกับรัสเซีย บริเวณแม่น้ำอามูร์ และระหว่างลองติจูดที่ 74-145 องศาตะวันออกที่หมู่เกาะคูริลประเทศญี่ปุ่น โดยมีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับดินแดนของสหพันธรัฐรัสเซีย
ทิศตะวันออก จดมหาสมุทรแปซิฟิก
ทิศตะวันตก ติดต่อกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคเอเชียกลาง
ทิศใต้ ติดต่อกับภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้



 พัฒนาการประวัติศาสตร์ในดินแดนในเอเชียตะวันออก


ตะวันออกปุ่น เกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ และมองโกเลีย ซึ่งเป็มีอาณาเขตครอบคลุมประเทศ จีน ญี่นดินแดนที่ได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมจีนที่มี แหล่งกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำฮวงเหอต่อมาจึงแพร่หลายออกไปสู่ดินแดนใกล้เคียง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของชาติสำคัญในดินแดนเอเชียตะวันออก ได้แก่ จีน เกาหลี และญี่ปุ่น มีดังนี้
 
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์จีน (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๙-๒๔)
ภายหลังจากที่ราชวงศ์ฮั่นสลายลง เมื่อ พ.ศ. ๗๖๔ ดินแดนจีนได้แตกแยกโดยมีผู้นำแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ที่เรียกว่าสมัยสามก๊ก(พ.ศ. ๗๖๔-๘๐๘) ได้แก่
Ø กลุ่มโจโฉ ปกครองอาณาบริเวณทางตะวันออกเฉียงเหนือ
Ø กลุ่มซุนกวน ซึ่งสืบเชื้อสายจากราชวงศ์ฮั่น ปกครองบริเวณลุ่มน้ำแยงชีและกลุ่มเล่าปปกครองบริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลเสฉวน ทั้งสามกลุ่มต่างสู้รบ เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่
Ø จนกระทั่งในที่สุดทายาทของกลุ่มโจโฉสามารถรวม อาณาจักรและตั้งราชวงศ์ ได้สำเร็จเมื่อประมาณ พ.ศ.๘๐๘ แต่กษัตริย์ราชวงศ์นี้ไม่สามารถรวบรวม
            อาณาจักรได้นาน เพราะเกิดการขัดแย้งทางการเมือง ภายในทำให้มีผู้ตั้งตัวเป็นกษัตริย์ปกครองแว่นแคว้นต่างๆ ขณะเดียวกันต้องเผชิญกับการรุกรานจากกกลุ่มชนทางตอนเหนือ ได้แก่ พวกตุรกี ฮั่นและมองโกล   ในที่สุดหยางเฉิน เป็นผู้นำในการรวบรวมอาณาจักรโดยปราบปรามแคว้นต่างๆ แต่ผู้ที่ตั้ง เป็นจักรพรรดิและสถาปนาราชวงศ์สุยได้สำเร็จคือหางตี้ ซึ่งเป็นโอรสของพระองค์ ราชวงศ์ซึ่งสถาปนาเมื่อ พ.ศ.๑๑๒๔ ทำการปกครองจีน    ต่อมาอาณาจักรถูกรุกรานจากเผาต่างๆที่มาจากทางเหนือทำให้อาณาจักรเสื่อมลงเป็นเหตุให้หลี หยวน หรือจักรพรรดิ ถัง ไท จื่อ สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิตั้งราชวงศ์ถังได้ในปี พ.ศ.๑๑๖๑ สมัยราชวงศ์ถังซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองซีอาน ถือว่าเป็นยุคทองยุคหนึ่งของจีนเนื่องจากราชวงศ์นี้ได้สร้างความเจริญในด้านต่าง ทั้งทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจการต่างประเทศยุคนี้มี กบฏเกิดขึ้นหลายครั้ง ทำให้ราชวงศ์ถังสิ้นสุดลงใน พ.ศ. ๑๔๕๐
        
            ภายหลังจากราชวงศ์ถึงระหว่าง พ.ศ. ๑๔๕๐-๑๕๐๓ อาณาจักร จีนอันกว้างขวางได้แตก แยกเป็นแคว้นถึงสิบแคว้นมีกษัตริย์ปกครองเป็นอิสระในที่สุดนายพลเจา กวง หยิน สามารถตั้งตัวเป็นจักรพรรดิซ่ง ไทย สือ ผู้สถาปนาราชวงศ์ซ่ง(พ.ศ. ๑๕๐๓-๑๘๒๒) ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไคฟงและเมืองฮังโจวราชวงศ์นี้แม้ว่าได้ทำการปรับปรุงเศรษฐกิจ การปกครองและการศึกษา  แต่เนื่องจากต้องใช้จ่ายเงินในการป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าที่อยู่ทางตอนเหนือ โดยเฉาะพวกมองโกลและเกิดภาวการณ์เพิ่มประชากร ทำให้มีผลกระทบเช่นความอดอยาก การขาดแคลนที่ดินทำกิน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ราชวงศ์นี้เสื่อมลง
 
            ชาวมองโกลได้สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หยวน (พ.ศ.๑๘๒๒-๑๙๑๑)มีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองข่านพาลิก(ปัจจุบันคือกรุงปักกิ่ง)ในรัชกาลจักรพรรดิกุบไลข่านจีน ได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง แต่เมื่อสิ้นรัชกาล ราชวงศ์หยวนก็เริ่มเสื่อมลง เนื่องจากการต่อต้านโดยชาวจีนประกอบกันเกิดภาวะเงินเฟ้อและ ภัยธรรมชาติ
         ในที่สุด จู หยวน จัง อดีตพระในพระพุทธศาสนาจึงยึดอำนาจ พร้องทั้งสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิหุง อู่ แห่งราชวงศ์หมิงใน พ.ศ.๑๙๑๑ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหนานจิง ภายหลังจึงยึดกรุงปักกิ่งได้สำเร็จจีนสมัยราชวงศ์หมิง มีการขยายตัวทางการค้า เนื่องจากบ้านเมืองมีความสงบแต่ในตอนปลายราชวงศ์เกิดการแย่งชองราชบัลลังก์ในกลุ่มพระจึงทำให้ราชวงศ์หมิงค่อยๆ เสื่อมอำนาจลง     จนในที่สุดเนอฮาชิ ชาวแมนจูซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองมุกเดนในแหลมเลียวตุงได้รวบรวมกำลังเข้ายึดกรุงปักกิ่งสถาปนาราชวงศ์ชิง( พ.ศ.๒๑๘๗-๒๔๕๕)ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ราชวงศ์ชิงเริ่มเสื่อมลงเนื่องจาก    ได้รับการต้านจากชาวจีนที่ถือว่าราชวงศ์นี้เป็นชาวต่างชาติราชวงศ์แมนจูยังต้องเผชิญกับภาวะการเพิ่มประชากรและโจรสลัดในน่านน้ำทะเลจีนใต้ทำให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีนรวมทั้งการขยายอิทธิพลของชาติตะวันตกในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ซึ่งมีผลกระทบทำให้ยุคราชวงศ์ของจีนสิ้นสุดลงในเวลาต่อมา ประวัติศาสตร์จีนช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙-๒๔ มีพัฒนาการ ดังนี้
                 

               การเมืองการปกครอง 

 

            
            จีนได้มีการปกครองในรูปแบบจักรวรรดิอีกครั้งหนึ่งจักพรรดิแห่งราชวงศ์สุยได้ทำการประมวลกฎหมาย อาญาและปรับปรุงระบบการบริหารภายในซึ่งราชวงศ์ถึงได้นำมาเป็นอย่างแล้วปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
โดยการแบ่งหน่วยงานส่วนกลางออกเป็น ๖กระทรวง ได้แก่
1.             กระทรวงข้าราชการ
2.             การคลัง
3.             ทหาร
4.              ยุติธรรม
5.             โยธา
6.             พิธีกรรม
ส่วนในหัวเมือง ราชวงศ์ถังได้แบ่งหน่วยปกครองออกเป็นมณฑลและจังหวัด โดยแต่ละมณฑล จักรพรรดิโปรดส่งข้าหลวงไหปกครองและให้แยกอำนาจออกเป็น ๓ ฝ่าย คือ ฝ่ายพลเรือน ฝ่ายทหารและฝ่ายตุลาการทำให้อำนาจ ของจักรพรรดิกระจายออกไปยังมณฑลต่างๆ
     เมื่อสิ้นราชวงศ์ถัง จีนได้ตกอยู่ในภาวะแตกแยกทางการเมือง  จนกระทั่งราชวงศ์ซ่งขึ้นมามีอำนาจราชวงศ์นี้ พยายามเลียนแบบการบริหารและการปกครองแบบราชวงศ์ถังแต่เพื่อป้องกันการกบฏจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ซ่งได้เสริมสร้างอำนาจส่วนกลางให้ควบคุม หัวเมืองรัดกุมขึ้น เช่น ให้ฝ่ายทหารหัวเมืองขึ้นอยู่กับฝ่ายพลเรือน จึงเป็นเหตุให้หัวเมืองต่างๆอ่อนแอดังนั้น เมื่ออาณาจักรจีนถูกรุกรานจากพวกมองโกลและพวกแมนจู หัวเมืองจึงไม่อาจต้านทานกำลังจากผู้รุกรานเหล่านี้จนในที่สุดราชวงศ์ซ่ง จึงหมดอำนาจลงแล้วชาวมองโกลจึงเข้ามาปกครองจีนชาวมองโกลเป็นนักรบที่เข้มแข็ง สามารถใช้กองกำลังขยายอาณาจักรได้อย่างกว้างขวาง แต่ไม่คุ้นเคยกับการปกครองอาณาจักร

ด้านเศรษฐกิจ

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกมีโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างได้สัดส่วน กันมีประเทศที่เป็นยักษ์ใหญ่ทางอุตสาหกรรมคือญี่ปุ่น และประเทศอุตสาหกรรมใหม่ได้แก่เกาหลีใต้ และไต้หวันส่วนประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจยังอยู่ที่ภาคเกษตรกรรมก็คือ จีน เกาหลีเหนือ และมองโกเลีย
ลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกได้แก่
1.1การ เพาะปลูก พืชอาหารที่สำคัญได้แก่ข้าวเจ้า ปลูกมากบริเวณภาคใต้ที่ลาบลุ่มชายฝั่งตะวันออกของประเทศจีน นอกจากนี้ก็ปลูกได้ทั่วประเทศญี่ปุ่นยกเว้นทางภาคเหนือ ไต้หวัน และเกาหลีใต้ เพราะมีฝนตกชุกและอากาศร้อน ส่วนข้าวสาลีข้าวฟ่าง เกาเหลียงถั่วเหลืองมันฝรั่งมีปลูกมากในเขตแมนจูเรีย เป็นต้น
ข้าวสาลี
1.2การ เลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ที่ทำกันมากในภูมิภาคตะวันออก ได้แก่การเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อนไปตามบริเวณทุ่งหญ้าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ สัตว์ที่เลี้ยงมากได้แก่โค ม้า แกะ แพะ ลา จามาลี อูฐ สามารถใช้ประโยนช์จากสัตว์ได้แก่ใช้เนื้อนมเป็นอาหาร
                               การเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน
2.การประมง
เป็นอาชีพที่สำคัญของชาวเอเชียตะวันออกมาตั้งแต่โบราณ ทั้งนี้มีการทำประมงน้ำจืด คือ การเลี้ยงปลาในบริเวณแหล่งน้ำชลประทานกันอย่างแพร่หลาย แหล่งประมงน้ำจืดของจีน  ได้แก่ ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงตอนล่าง และทางตะวันออกเฉียงใต้บริเวณมณฑลฟูเกี้ยน และกวางตุ้ง ซึ่งมีแหล่งน้ำลำธาร หนอง บึง และทะเลสาบอยู่มากมาย นอกจากนี้ ก็มีการเลี้ยงปลาน้ำจืด กันอย่างประปราย ทั้งในเกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไต้หวัน    สำหรับการทำประมงน้ำเค็ม ทุกประเทศในภูมิภาค (ยกเว้นประเทศมองโกเลีย) เป็นแหล่งประมงน้ำเค็มที่สำคัญของโลก โดยเฉพาะญี่ปุ่นนั้นได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการทำประมงมากที่สุดในโลก โดยเรือการประมงของญี่ปุ่นนอกจากจะทำการจับปลาในเขตน่านน้ำของตนแล้ว ยังแล่นเรือออกไปจับปลาในเขตน่านน้ำสากล และลงทุนทำประมงกับประเทศอื่นๆไปทั่วโลกอีกด้วย    ทางด้านประเทศจีน ส่วนใหญ่จะเป็นประมงชายฝั่ง เพราะชาวจีนไม่นิยมออกเรือไปจับปลาไกลๆ แหล่งประมงสำคัญ ได้แก่ บริเวณชายฝั่งนับตั้งแต่อ่าวหางโจวทางตอนกลางของประเทศ
3. การป่าไม้
 เป็นอาชีพที่ไม่มีความสำคัญมากนักต่อภูมิภาคนี้ เกี่ยวกับไม้สน และไม้ไผ่ที่ปลูกเอง ส่วนประเทศจีนการทำป่าไม้จะมีอยู่บ้างในเขตบางจูเรียและมลฑลเสฉวน ปัจจุบันนี้ในประเทศญี่ปุ่นได้ไปลงทุนทำอุตสาหกรรมป่าไม้นอกประเทศ เช่น ที่เกาะบอร์เนียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
4 การทำอุตสาหกรรม
เนื่องจากสินค้าอุตสาหกรรมของภูมิภาคนี้ถูกส่งออกไปจำหน่ายตีตลาดไปทั่วโลก รวมทั้งในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเยอรมนี ซึ่งประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ เช่นกัน
1 ญี่ปุ่น มีการอุตสาหกรรมทั่วทุกจังหวัดของประเทศ เขตอุตสาหกรรม ใหญ่ๆ ของญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 4 เขต คือ
1. เขตโตเกียว-โยะโกะฮะมะ การผลิตเครื่องโลหะเคมีภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า แก้ว กระดาษ การทอผ้า การผลิตอาหารสำเร็จรูป เป็นต้น
2. เขตโคเบะ-โอซะกะ เช่น การถลุงเหล็ก ถลุงโลหะ ทอผ้า การต่อเรือ นอกจากนี้ ก็มีการผลิตเครื่องโลหะ เครื่องเหล็ก เครื่องไม้ การผลิตถ้วยชามและอุปกรณ์ไฟฟ้า
3. เขตนะโงะยะ  การผลิตกระดาษ ผลิตน้ำมันพืช เครื่องถ้วยชาม เคมีภัณฑ์ และยังมีอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบิน เครื่องคอมพิวเตอร์ ผลิตรถยนต์
4. เขตคีวชูตอนเหนือ เป็นเขตอุตสาหกรรมหนักของประเทศ ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อุตสาหกรรมเครื่องจักร ปูนซีเมนต์ การต่อเรือ เคมีภัณฑ์ และปิโตเคมี
2 จีนเป็นประเทศที่มีวัตถุดิบมาก และในปัจจุบันเทคโนโลยีในการผลิตทันสมัย จึงทำให้อุตสาหกรรมของจีนเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยจีนสามารถผลิตผ้าฝ้ายได้มากที่สุดในโลก โรงงานอุตสาหกรรมหนักของจีนส่วนใหญ่ จะตั้งอยู่เขตแมนจูเรียและเมืองใหญ่ๆ เช่น ปักกิ่ง เทียนสิน เซี่ยงไฮ้ จุงกิง เป็นต้น
3 เกาหลีใต้ เป็นประเทศที่สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมได้เจริญรวดเร็วจนกลายเป็นผู้ส่งออก อันดับ 2 ของเอเชียรองจากญี่ปุ่น อุตสาหกรรมที่สำคัญของเกาหลีใต้ ได้แก่ การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ รถยนต์ การต่อเรือ แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ปูนซีเมนต์ เครื่องเหล็ก อุปการณ์โทรคมนาคม และเครื่องจักรต่างๆ
4 ไต้หวัน เนื่องจากไต้หวันมีทรัพยากรณ์ธรรมชาติที่ไม่อุดมสมบูรณ์ ดังนั้นอุตสาหกรรมของไต้หวันจึงเป็นอุตสหกรรมเบาและการแปลรูปผลิตภัณฑ์ทาง การเกษตร เช่น การผลิตอาหารสำเร็จรูป การทำอาหารกระป๋อง นอกจากนี้มีการผลิตอุปการณ์ไฟฟ้า เครื่องจักร เครื่องคอมพิวเตอร์ แผงวงจารอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม ของเล่นสำหรับเด็ก
5. พานิชยกรรม
กรุงโตเกียว (ญี่ปุ่น) และฮ่องกงของจีนได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางของการค้าที่สำคัญที่สุดอีกแห่ง หนึ่งของโลก ในขณะที่ไทเป (ไต้หวัน) โซล (เกาหลีใต้) สินค้าที่สำคัญของภาคนี้คือ สินค้าอุตสาหกรรมชนิดต่างๆ ที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และจีน และในขณะที่สินค้าเข้า จะเป็นพวกวัตถุดิบต่างๆและอาหาร


สังคมและวัฒนธรรม  
    ความเชื่อและศาสนา ในช่วงสามก๊ก สังคมจีนเกิดความยุ่งยากเนื่องจากการสู้รบทำให้ผู้คนแสวงหาที่พึ่งทางจิตใจ พระพุทธศาสนาได้รับการ ฟื้นฟูพระสงฆ์ในยุคนั้นมีความรู้ ในพระธรรมวินัยและให้วิธีการเผยแผ่ศาสนาโยวิธีสังคมสงเคราะห์      พระภิกษุชื่อเสียงได้แก่ พระภิกษุฟาเลียน ที่เดินไปอินเดียโดยทางบกผ่านดินแดนเดเชียกลาง แต่เดินทางกลับจีนทางทะเลและพระภิกษุถังชำจั๋งเดินทางบกไปกลับจากอินเดียพระภิกษุเหบ่นนี้ได้พระไตรปิฎกและพระสูตรเป็นภาษาจีนทำให้พระพุทธศาสนาแพร่หลาย
              ศาสนาอิสลามได้แพร่หลายเข้ามาตามเส้นทางการค้า ทางตะวันตก เช่น ที่มณฑลยูนนาน และซินเกียง เนนอกจากนี้ยังความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ เช่น ดาราศาสตร์ เครื่องจักรกลและการแพทย์แต่ต่อมารัฐบาลระแวงชาวตะวันตกว่าเป็นผู้รุกรานจีน ดังนั้นในสมัยราชวงศ์ชิงคริสต์ศาสนาจึงได้รับการต่อต้าน

อารยธรรมมนุษย์

อารยธรรมตะวันออกสมัยโบราณ
 อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
ขุดพบเมืองโบราณที่เมืองฮารัปปา และเมืองที่โมเฮนจาดาโร เป็นพยานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญของชนเผ่าที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ คือพวกดราวิเดียน พวกพื้นเมืองของอินเดีย ลักษณะสิ่งก่อสร้างของอารยธรรมสินธุ : เป็นอารยธรรมแบบเมือง จุดเด่นของอารยธรรมสินธุอยู่ที่การก่อสร้างและวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ สิ่งก่อสร้างที่ขุดพบในเมืองสองเมืองข้างต้น มีการแบ่งเขตภายในเมืองออกเป็นสัดส่วน เป็นที่ตั้งอาคารสำคัญๆไว้อย่างเป็นหมวดหมู่
การดำเนินชีวิตของประชากร : ทำเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผา ความเชื่อ : เชื่อว่าชาวสินธุนับถือเทพเจ้าหลายองค์ ส่วนใหญ่เป็นเทพผู้หญิงหรือเทพมารดา  แม่พระธรณี อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุบางส่วนคล้ายกับอารยธรรมเมโส  พบเครื่องปั้นดินเผาของชนเผ่าสินธุในแถบเมโส อารยธรรมสินธุเสื่อมลง อาจเพราะถูกภัยธรรมชาติ ขณะเดียวกันเป็นช่วงที่พวกอารยันได้เข้ามารุกรานอินเดียว และขับไล่พวกดราวิเดียนให้ถอยร่นไปแถบลุ่มแม่น้ำคงคา อารยันบางกลุ่มก็ได้ปะปนกับพวกดราวีเดียนจนเกิดเป็นกลุ่มคนใหม่เรียกว่า ฮินดู
 การตั้งถิ่นฐานและการพัฒนาอารยธรรมของอารยัน
การตั้งถิ่นฐานของพวกอารยัน : แรกเริ่มยังไม่รู้จักการตั้งถิ่นฐาน เร่ร่อน แต่รู้จักเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก สังคมแรกๆประกอบด้วย นักรบ สามัญชน พระ และแบ่งแยกเป็นเผ่า การพัฒนาของพวกอารยธรรมอารยัน : ช่วงแรกเผ่าอารยันถูกเล่าต่อๆกันเป็นนิทาน ตอนหลังเปลี่ยนเป็นการสวดสรรเสริญบรรพบุรุษ คำสวดของอารยันยุคแรกเรียกว่า พระเวท (Veda) เป็นคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ต่อมาเป็นศาสนาฮินดู ประกอบด้วยคัมภีร์ย่อย 3 เล่ม
  1. ฤคเวท ร้อยกรอง สวดบูชาพระเจ้า มี 1,028 บท
  2. ยชุรเวท บูชาและวิธีบูชาเทพเจ้า เป็นส่วนประกอบของฤคเวท
  3. สามเวท ร้อยกรองรวมตั้งแต่บทบูชาและบทสวด รวมเรียกว่า ไตรเวท พระเวทนี้ถือว่าเป็นวรรณคดี
ยุคพระเวท หน่วยการปกครองที่เล็กที่สุดคือ ครอบครัว เทพที่ได้รับการนับถือมากที่สุดคือ พระอินทร์
ระบบวรรณะ ได้แก่ พราหมณ์ มาจากส่วนหัวของพระเจ้า นักบวช กษัตริย์ มาจากอกพระเจ้า ผู้ปกครองประเทศ และนักรบ แพศย์ มาจากส่วนขาของพระเจ้า สามัญชน ชาวนา นายช่าง ศูทร มาจากส่วนเท้าพระเจ้า ทาสชาวอารยันมีการรวมตัวกันเป็นเผ่า มีหัวหน้าเผ่าเรียกว่า ราชา (Raja)
ยุคมหากาพย์ เป็นสมัยการขายตัวของพวกอารยัน มีหลักฐานที่สำคัญสองเล่มคือ มหากาพย์ภารตะ และมหากาพย์รามยณะ การเมือง : ยุคมหากาพย์มีการเมือง 2 ลักษณะคือ ราชาธิปไตยและสภาอำมาตย์ในระบบรัฐสภา ด้านเศรษฐกิจ : มีการใช้เหรียญทองแดง มีการทำเหมืองโลหะ มีการค้ากับชาวต่างชาติ ด้านสังคม : วรรณะพราหมณ์มีอำนาจมากขึ้น ด้านศาสนา : ศาสนาเชน ศาสนาพุทธ(อริยสัจ4)การรุกรานของชาวต่างชาติในอารยธรรมอินเดีย ได้แก่ เปอร์เซียและกรีก
 การเกิดและการเสื่อมของจักรวรรดิในสมัยราชวงศ์โมริยะ
เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์สิ้นพระชนม์ 2 ปี จันทรคุปต์ ผู้เป็นหัวหน้าเผ่าโมริยะ ได้รวบรวมแคว้นเล็กๆในดินแดนลุ่มแม่น้ำคงคาไว้ทั้งหมดและขับไล่ชาวต่างชาติออกไปจากอินเดีย จากนั้นขยายอำนวจจนสามารถผนวกดินแดนลุ่มแม่น้ำสินธุเอาไว้ได้ ก่อนจะสถาปนาราชวงศ์โมริยะขึ้นปกครองอินเดีย สมัยต่อมาคือ พระเจ้าพินทุสาร และ พระเจ้าอโศกมหาราช
พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเน้นการเผยแพร่ศีลธรรม และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมและประติมากรรม
ราชวงศ์สังกะ : ปกครองต่อจากราชวงศ์โมริยะ เป็นราชวงศ์ของชาวต่างชาติราชวงศ์แรกที่ปกครองอินเดีย เป็นผสมระหว่างกรีกและอินเดีย ราชวงศ์สังกะเจริญทั้งทางด้านบรรณคดีและด้านศิลปกรรม
ราชวงศ์กุษาณะ กษัตริย์ที่มีชื่อคือ พระเจ้ากนิษกะ ทรงได้รับการยกย่องด้านการอุปถัมป์พุทธศาสนา โดยทรงสนับสนุนนิยายมหายาน
 การพัฒนาอารยธรรมในสมัยคุปตะ
  • ราชวงศ์คุปตะ ถือว่าเป็นยุคทองของอารยธรรมอินเดีย เพราะมีความเจริญสูงสุดในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น ปรัชญา วรรณคดี ศิลปะ ลัทธิฮินดู รวมถึงวิทยาการต่างๆ หลังสมัยพระเจ้าจันทรคุปต์ที่สอง อาณาจักรคุปตะเริ่มเสื่อมและสิ้นสุดลง โดยอยู่ใต้อำนาจของพวกเร่ร่อนที่รุกรานคือ พวกฮั่น
  • ราชวงศ์หรรษา มีกษัตริย์ชื่อ พระเจ้าหรรษาวัฒนา ทรงรวบรวมแคว้นให้เหมือนสมัยคุปตะและขับไล่ฮั่นออกไป ทรงอุปถัมป์พุทธศาสนา หลังจากพระเจ้าหรรษาสิ้นพระชนม์อาณาจักรก็แตกและถูกมุสลิมรุกราน ได้แก่พวกเตอร์กและมองโกล ภายใต้การนำของจักรพรรดิดิบาบูร์ หลังจากนั้นจึงตั้งราชวงศ์โมกุลขึ้นและเผนแผ่ศาสนาอิสลาม
  • ราชวงศ์โมกุล เป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดียก่อนตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ จักรพรรดิบาบูร์เป็นผู้ก่อตั้ง ต่อมากลายเป็นจักวรรดิที่ใหญ่ที่สุดของอินเดีย มีนครเดลฮี (เดลลี) เป็นเมืองหลวง หลังจากนั้นเริ่มเสื่อมลงจากความกดขี่ทางด้านเชื้อชาติและศาสนา เกิดสงครามระหว่างรัฐบ่อย การปกครองอ่อนแอ เศรษฐกิจก็เสื่อม อังกฤษจึงอาศัยความอ่อนแอดังกล่าวเข้ายึดอินเดีย
อารยธรรมจีนสมัยเริ่มราชวงศ์ จีนเชื่อว่าการปกครองของกษัตริย์แต่ละราชวงศ์เป็นอาณัติจากสวรรค์ (Mandate of Heaven) กษัตริย์เป็นโอรสแห่งสวรรค์ที่ส่งลงมาปกครองมนุษย์
  • ราชวงศ์เฉีย ราชวงศ์แรก สันนิษฐานว่าอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเหลืองหรือแม่น้ำฮวงโห เป็นนครรัฐเล็กๆ เกษตรกรรม และได้เริ่มทำปฏิทินขึ้นใช้
  • ราชวงศ์เซียง (ที่เดียวกับเฉีย) เริ่มรู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ เป็นอักษรภาพ มีการตั้งชุมชนขึ้นมาในลักษณะนครรัฐ มีจักรพรรดิปกครองคล้ายระบบศักดินา จักรพรรดิดำนงตำแหน่งประมุขในด้านการปกครอง การทหาร และการศาสนา คนในสมัยนี้ยกย่องบูชาบรรพบุรุษและเชื่อในเทพเจ้าที่สถิตอยู่ตามธรรมชาติ ตอนปลายราชวงศ์เริ่มอ่อนอำนาจลงเนื่องจากความแตกแยกภายใน
  • ราชวงศ์โจว ถือว่าเป็นยุคทองของปรัชญา เป็นราชวงศ์ที่มีอายุยาวนานที่สุด หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาคือ ชุนชิวจิง เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ฤดูวสันต์ ด้านการปกครอง K. ดำรงตำแหน่งที่เรียกตัวเองว่า โอรสของสวรรค์ เป็นเจ้าของแผ่นดินทั้งประเทศ มีนักปราชญ์คนสำคัญหลายท่าน ขงจื๊อ วางรากฐานการศึกษาของจีน ปรัชญาขงจื๊อมีลักษณะอนุรักษ์นิยม สั่งสอนให้ประพฤติและปกครองโดยชอบธรรม เล่าจื๊อ ให้ข้อคิดทางด้านสังคมและการเมือง เต๋า แปลว่า วิถีหรือทาง ลัทธิเต๋าเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบสังคมนิยม สอนให้คนสนใจธรรมชาติให้มากที่สุด ส่วน เม่งจื๊อ เห็นว่ารัฐบาลควรทำตัวเป็นเยี่ยงอย่างแก่ประชาชน
สมัยการก่อตัวเป็นจักรรวรรดิและยุคทองของอารยธรรมจีน
  • ราชวงศ์จิ๋นและฉิน K.จิ๋นซีฮ่องเต้ ได้ปราบปรามแคว้นต่างๆให้อยู่ในอำนาจ และวางรากฐานความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้จีน สิ่งสำคัญที่ทำให้สร้างอำนาจได้อย่างรวดเร็วคือ การนำหลักปรัชญาที่เรียกว่า ระบบฟาเจียหรือระบบนิตินิยม มาใช้ในการปกครอง ระบบนี้ยึดหลักกฏหมายเป็นเครื่องกำหนดและควบคุมความประพฤติของคนในสังคม คือ การให้รางวัลและการลงโทษอย่างรุนแรง หลังจากที่ K.จิ๋นสิ้นพระชนม์ บ้านเมืองเริ่มอ่อนแอ จึงมีหัวหน้าชาวนาชื่อ หลิวปัง สถาปนาตนเป็น K.เกาสู คนใหม่คือ ราชวงศ์ฮั่น
  • ราชวงศ์ฮั่น ฮั่นปกครองจีนนานถึง 400 ปี มี K. องค์สำคัญคือ พระเจ้าฮั่น หวูตี ยุคนี้มีความเจริญสูงสุดในประวัติศาสตร์จีนโดยได้ขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวาง ปราบปรามชนเผ่าต่างๆ สมัยนี้มีนักปรัชญาที่สำคัญคือ สูมาเชียน มีการขยายการค้าและสินค้าไปยังยุโรป เรียกเส้นทางการติดต่อนี้ว่า เส้นทางสายไหม เมื่อสิ้นราชวงศ์ฮั่นสถานการณ์บ้านเมืองก็ยังไม่สงบสุขเกิดการรบชิงอำนาจตลอดเวลา แผ่นดินจีนในยุคนี้จึงแบ่งออกเป็น 3 ภาค หรือที่เราเรียกว่า สามก๊ก
  • ราชวงศ์สุย จีนมีการรวมตัวกันอีกครั้งหลังจากตกอยู่ในการจลาจลมานาน K.สุยหวั่นตี่ตั้งราชวงศ์และปรับปรุงบ้านเมืองหลายด้าน มีการสร้างถนน ขุดคลอง สร้างกำแพงเมือง และงานด้านสาธารณสุข ราชวงศ์ถัง สมัยนี้เจริญมากในด้านศิลปกรรมและวรรณกรรมจนได้ชื่อว่าเป็น ยุคทองของอารยธรรมจีน K.ถังไทซุง ขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวาง มีการรับวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาในจีน กวีที่เด่นที่สุดในยุคนี้คือ หลีไป๋ และตูฟู ราชวงศ์ถังเริ่มเสื่อมอำนาจเนื่องจากความขัดแย้งภายในแคว้น จนในที่สุดได้แคกออกเป็น 5 ราชวงศ์และไม่สามารถรวมดินแดนเหมือนเดิมได้ แต่ในที่สุด ค.ศ.960 แม่ทัพเจากวงหยิน ได้รวบรวมจีนให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้ง
สมัยติดต่อกับโลกภายนอก
  • ราชวงศ์ซ้อง ก่อตั้งโดยเจากวงยิน ต่อมาได้ตั้งชื่อตนว่า จักรพรรดิไถ้จือ ราชวงศ์ซ้องปกครองจีนนานถึง 300 ปี การปกครองสมัยนี้นำนโยบายจากราชวงศ์ถังมาใช้ บุคคลที่จะเข้ารับราชการต้องมีความสามารถ และผ่านการสอบจิ๋นซี ที่จัดว่าเป็นการสอบที่ยากที่สุด นักปราชญ์ที่มีชื่อที่สุดคือ ชูสี ให้ความสำคัญกับเต๋าและพุทธศาสนา ราชวงศ์นี้ได้ชื่อว่าเป็นราชวงศ์ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างมากจนละเลยทางด้านการทหารทำให้ถูกมองโกลเข้ารุกรานและสูญเสียอำนาจให้มองโกลในที่สุด
  • ราชวงศ์หงวนหรือมองโกล กุบไลข่าน ได้ยึดอำนาจจากราชวงศ์ซ้องและปกครองแผ่นดินจีน นับเป็นครั้งแรกที่จีนตกอยู่ภายใต้การปกครองของชนต่างชาติ กุบไลข่านได้พัฒนาบ้านเมืองให้มีความเจริญเป็นอย่างมาก ทรงยอมรับลัทธิขงจื๊อและพยายามทำตนให้เข้ากับชาวจีน สมัยนี้มีชาวต่างขาติเข้ามาในแผ่นดินจีนเป็นอย่างมาก เช่น พ่อค้า มิชชันนารี ที่มีชื่อเสียงสุดคือ มาร์โคโปโล ที่ได้บันทึกเรื่องราวของจีนเอาไว้ ในที่สุดพวกจีนได้รวมตัวกันก่อจลาจลขับไล่พวกมองโกล
  • ราชวงศ์หมิงหรือเหม็ง กลับมามีอำนาจหลังจากไล่มองโกลออกไป และย้ายเมืองหลวงไปที่กรุงปักกิ่ง ช่วงนี้มีการนำเอาศิลปวัฒนธรรมแบบเก่าในสมัยราชวงศ์ถังมาใช้ ศิลปะที่มีชื่อมากในยุคนี้คือ เครื่องเคลือบ ราชวงศ์ชิงหรือแมนจู ราชวงศ์สุดท้ายของจีนก่อนสถาปนาเป็นสาธารณรัฐ เป็นชนต่างชาติที่เข้ามาปกครองจีน โดยปกครองจีนตามระบบเก่า คือ ใช้หลักทฤษฎีการปกครองตามลัทธิขงจื๊อ และพยายามรักษาอารยธรรมดั้งเดิมของจีนเอาไว้แทบทุกอย่าง สมัยนี้จักพรรดิเฉียนหลุนโปรดให้มีการก่อสร้างพระราชวังฤดูร้อน เป็นศิลปะอิตาเลียนผสมฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ดร.ซุนยัดเซ็นหัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋งได้เข้ายึดอำนาจจากแมนจูและสถาปนาการปกครองจีนเป็นแบบสาธารณรัฐ
พื้นฐานอารยธรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ความเจริญทางด้านวัตถุ วัฒนธรรมฮัวบินห์ : เป็นยุคหิน พบที่เวียดนาม พบความเจริญทางวัตถุหลายชนิด เครื่องมือเครื่องใช้ อาวุธ วัฒนธรรมบัคซอน : เป็นวัฒนธรรมยุคหินที่พัฒนามาจากวัฒนธรรมฮัวบินห์ พบขวานสั้น เครื่องมือที่ทำด้วยกระดูก และเปลือกหอย วัฒนธรรมดองซอง : เป็นพัฒนาการของวัฒนธรรมในยุคโลหะ วัฒนธรรมหินใหญ่ : นำหินมาก่อนสร้าง หลุมศพก่อด้วยแท่งหินและแผ่นหิน วัฒนธรรมบ้านเชียง : เป็นยุคโลหะ
ความเจริญด้านสังคมและศาสนา : มักให้ความสำคัญกับสตรี มีการนับถือวิญญาณและภูติผีปีศาจ ทำให้ต้องเซ่นสรวงบูชาพลังลึกลับ และยังมีความเชื่อในเรื่องการบูชาบรรพบุรุษและเชื่อในเรื่องความตาย
การรับอารยธรรมอินเดีย และจีน
อิทธิพลอารยธรรมอินเดีย
  • ด้านศาสนา : ศาสนาที่มีอิทธิพลต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทหินพิมาย ศิวลึงค์ และพุทธศาสนา คำสอน ประเพณีต่างๆ
  • ด้านการเมืองการปกครอง : มีแนวคิด “สมมติเทพ” กษัตริย์เป็นเทพจุติมาเกิด
  • ด้านสังคม : มีการแบ่งชนชั้นเหมือนวรรณะแต่ไม่เคร่งเท่า คือกษัตริย์ ขุนนาง ไพร่ ทาส
  • ด้านอักษร : มีภาษาสันสกฤตแทรกอยู่ด้วย และด้านวรรณคดี รามายณะ มหาภารตะ
  • ด้านศิลปกรรม : สถาปัตยกรรม โบสถ์ วิหาร จิตรกรรม ภาพตามผนังโบสถ์ ประติมากรรม เทวรูป อิทธิพลจากจีน (แพร่ได้สองทางคือ จากการค้าขายกับการอพยพ)
  • ด้านการเมืองการปกครอง : แนวคิดเรื่องศักดินาสวามิภักดิ์ ระบบเจ้าขุนมูลนาย
  • ด้านสังคม : การกำหนดปีด้วยสัตว์ ชวด หนู ฉลู วัว เครื่องแต่งกาย ประเพณี ตรุษจีน กินเจ ด้านการค้า : ความรู้เรื่องการค้าและการต่อเรือ
     อาณาจักรโบราณในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • อาณาจักรโบราณบนพื้นแผ่นดินใหญ่
  • อาณาจักรฟูนาน : นับถือศาสนาพุทธ มีประเพณีพิธีบูชาพระมเหศวร การปกครองยึดแบบฮินดู
  • อาณาจักรเจนละ (กัมพูชา) : ยึดอาณาจักรฟูนานและขึ้นครองราชย์
  • อาณาจักรจามปา : นับถือพุทธและพราหมณ์ รับอารยธรรมจีนและอินเดีย
  • อาณาจักรทวารวดี : นับถือพุทธและรับอิทธิพลอีนเดียคุปตะ
  • อาณาจักรศรีเกษตร : ดินแดนแห่งความโชคดี
  • อาณาจักรสุธรรมวดี : นับถือพุทธแบบหินยาน อาณาจักรโบราณบนคาบสมุทรมลายู อาณาจักรตามพรลิงค์ :
  • อาณาจักต้นเหมยหลิว เหมาะสมด้านค้าขายเพราะเป็นเส้นทางการเดินเรือกับจีน
  • อาณาจักศรีวิชัย : ได้รับอิทธิพลจากอินเดียทุกด้าน นับถือฮินดู พุทธมหายาน
  • อาณาจักรมัชปาหิต : มีอำนาจสูงสุดสมัย คชมาดา สามารถรุ่งเรืองแทนศรีวิชัยที่เริ่มเสื่อมอำนาจ

ภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Southeast Asia (orthographic projection).svg
พื้นที่5,000,000 ตร.กม.
ประชากร610,000,000
ความหนาแน่น118.6 /ตร.กม.
ประเทศ
ดินแดน
GDP (2011)$2.158 ล้านล้าน (อัตราแลกเปลี่ยน)
GDP per capita(2011)$3,538 (อัตราแลกเปลี่ยน)
ภาษา
เขตเวลาUTC+5:30 (หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์) ถึง UTC+9:00(อินโดนีเซีย)
เมืองหลวง
เมืองใหญ่สุด
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมุทร ประกอบด้วย บรูไน มาเลเซียตะวันออกติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์

ประเทศและดินแดน[แก้]

ประเทศ[แก้]

ประเทศพื้นที่ (ตร.กม.)[1]ประชากร (2554) [2]ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.)GDP (ราคาตลาด),
USD (2554)[3]
GDP (ราคาตลาด) ต่อหัว,
USD (2011)[4]
HDIเมืองหลวง
ธงชาติของบรูไน บรูไน5,765425,8907415,533,000,000$36,5840.838บันดาร์เสรีเบกาวัน
ธงชาติของประเทศพม่า พม่า676,57862,417,0009251,925,000,000$8320.483เนปิดอร์
ธงชาติของประเทศกัมพูชา กัมพูชา181,03515,103,0008412,861,000,000$8520.523พนมเปญ
ธงชาติของประเทศติมอร์-เลสเต ติมอร์-เลสเต14,8741,093,000744,315,000,000$3,9490.495ดิลี
ธงชาติของอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย1,904,569241,030,522127845,680,000,000$3,5090.617จาการ์ตา
ธงชาติของลาว ลาว236,8006,556,000287,891,000,000$1,2040.524เวียงจันทน์
ธงชาติของมาเลเซีย มาเลเซีย329,84728,731,00087278,680,000,000$10,4660.761กัวลาลัมเปอร์
Flag of the Philippines ฟิลิปปินส์300,00095,856,000320213,129,000,000$2,2230.644มะนิลา
ธงชาติของสิงคโปร์ สิงคโปร์7245,274,7007,285259,849,000,000$49,2710.866สิงคโปร์
ธงชาติของไทย ไทย513,12064,076,000125424,985,000,000$6,5730.722กรุงเทพมหานคร
ธงชาติของเวียดนาม เวียดนาม331,21089,316,000270122,722,000,000$1,3740.593ฮานอย

ดินแดน[แก้]

ที่ตั้งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[5]
เปรียบเทียบอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย:
  เอเชียเหนือ
  เอเชียกลาง
  เอเชียตะวันตกเฉียงใต้
  เอเชียใต้
  เอเชียตะวันออก
  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ดินแดนพื้นที่ (ตร.กม.)ประชากรความหนาแน่น (คน/ตร.กม.)เมืองเอก
ธงชาติของเกาะคริสต์มาส เกาะคริสต์มาส135[6]1,402[6]10.4ฟลายอิงฟิชโคฟ
Flag of the Cocos (Keeling) Islands หมู่เกาะโคโคส14[7]596[7]42.6เวสต์ไอแลนด์

ดินแดนใต้ปกครองของประเทศ[แก้]

ดินแดนพื้นที่ (ตร.กม.)ประชากรความหนาแน่น (คน/ตร.กม.)เมืองเอก
อินเดีย หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์8,249[8]356,265[8]43.2พอร์ตแบลร์

ประวัติศาสตร์[แก้]

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์[แก้]

มิลตัน ออสบอร์น (Milton Osborne) นักประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชาวออสเตรเลียแบ่งยุคสมัยไว้อย่างหลวม ๆ ดังนี้

ภูมิศาสตร์[แก้]

ภูเขาไฟมายอน ในประเทศฟิลิปปินส์
ในทางภูมิศาสตร์ หมู่เกาะมลายูเป็นหนึ่งในบริเวณที่มีภูเขาไฟมีพลังมากที่สุดในโลก ผืนดินที่ยกตัวขึ้นในบริเวณนี้ทำให้เกิดภูเขาที่สวยงามอย่างยอดเขาปุนจักจายาที่จังหวัดปาปัวในอินโดนีเซีย ความสูงถึง 5,030 เมตร (16,024 ฟุต) บนเกาะนิวกินี อีกทั้งยังเป็นสถานที่เดียวที่สามารถพบธารน้ำแข็งได้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่บริเวณที่สูงเป็นอันดับสองอย่างยอดเขากีนาบาลูในรัฐซาบาห์ของมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว ซึ่งมีความสูง 4,095 เมตร (13,435 ฟุต) ภูเขาที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือยอดเขาคากาโบราซี โดยมีความสูงถึง 5,967 เมตร ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของพม่า และเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย ขณะเดียวกันอินโดนีเซียนั้นถูกจัดว่าเป็นหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (จัดโดย CIA World Factbook)
ภูเขาไฟมีพลังอย่างภูเขาไฟมายอนเป็นเจ้าของสถิติกรวยไฟที่สมบูรณ์ที่สุดในโลกที่เกิดจากการปะทุตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน[10]

ทำเลที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ทางซีกโลกตะวันออกและทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย โดยทิศเหนือติดกับประเทศจีน ทิศตะวันออกติดมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศใต้ติดมหาสมุทรอินเดีย และทิศตะวันตกติดประเทศอินเดียและบังคลาเทศ โดยตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 10 องศาใต้ถึงละติจูดที่ 28 องศาเหนือ และระหว่างลองจิจูดที่ 92 องศาตะวันออกถึง 141 องศาตะวันตก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพื้นที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนโดยแบ่งตามภูมิศาสตร์คือ ส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีป และส่วนที่เป็นหมู่เกาะ
ส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีปเป็นพื้นแผ่นดินใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย และอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยประเทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา บางส่วนของประเทศมาเลเซีย ส่วนที่เป็นหมู่เกาะ ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน สิงคโปร์ บางส่วนของประเทศมาเลเซีย และติมอร์-เลสเต
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แบ่งมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกออกจากกัน มีช่องแคบ 4 แห่ง ได้แก่ ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา ช่องแคบลอมบอก และช่องแคบมาคัสซาร์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชีย และทวีปออสเตรเลีย

ภูมิประเทศ[แก้]

ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ดังนี้
  • บริเวณทิวเขาและที่ราบลาดเนินตะกอนเชิงเขา ทิวเขาภายในแผ่นดินใหญ่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ แผ่กระจายออกมาจากชุมเขายูนนาน โดยมี 3 แนว ได้แก่ แนวทิศตะวันตก คือ ทิวเขาอะระกันในพม่าต่อเนื่องไปในทะเลอันดามัน เป็นภูเขาหินใหม่จึงมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อยครั้ง แนวกลางเป็นทิวเขาด้านทิศตะวันออกของพม่าต่อเนื่องลงไปถึงภาคเหนือของไทยจนถึงภาคใต้ แนวทิศตะวันออก คือ ทิวเขาในลาวและเวียดนาม ทิวเขาตามแนวกลางและตะวันออกเป็นภูเขายุคหินกลางจึงไม่มีปรากฏการณ์อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงเหมือนแนวทิศตะวันตก
  • บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ พบอยู่สองฝั่งของแม่น้ำสายต่าง ๆ ที่ราบสำคัญได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดีในพม่า ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในไทย ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงของเวียดนาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในประเทศกัมพูชาและเวียดนาม ส่วนที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่สำคัญ เช่น ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำอิรวดี เป็นต้น
  • ที่ราบชายฝั่งทะเล ได้แก่ บริเวณที่เป็นหาดทรายที่เกิดจากการทับถมของทรายจากการกระทำของคลื่นในทะเล บริเวณที่เป็นดินเลนซึ่งมักจะพบป่าไม้ เช่น ป่าโกงกาง ป่าจาก เป็นต้น พบได้ทั่วไปในทุกประเทศของภูมิภาค ยกเว้นประเทศลาวซึ่งเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ไม่มีที่ราบชายฝั่งทะเล เพราะไม่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเล)
  • หมู่เกาะ ส่วนใหญ่เป็นเกาะที่เกิดจากภูเขาไฟ ทั้งที่ยังมีพลังและที่ดับสนิทแล้ว ต่อเนื่องมาจากทิศตะวันตกในแผ่นดินประเทศพม่า ลงไปเป็นหมู่เกาะอันดามัน นิโคบาร์ สุมาตรา ชวา ในอินโดนีเซีย และหมู่เกาะในฟิลิปปินส์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยเกาะขนาดใหญ่และขนาดเล็กมากมาย ประเทศที่มีเกาะจำนวนมาก ได้แก่ อินโดนีเซีย ซึ่งมีเกาะมากกว่า 17,000 เกาะ ประเทศฟิลิปปินส์มีเกาะประมาณ 7,000 เกาะ เนื่องจากดินในเขตภูเขาไฟจะมีความอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้แถบนี้มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก แม้จะต้องเสี่ยงต่อการปะทุของภูเขาไฟและแผ่นดินไหว

ภูมิอากาศ[แก้]

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นหรือเขตร้อน ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสองลักษณะ คือ มีสภาพภูมิอากาศชุ่มชื้นในฤดูฝนและแห้งแล้งในฤดูแล้งอย่างชัดเจน และอีกลักษณะหนึ่ง คือ มีฝนตกชุ่มชื้นเกือบตลอดทั้งปี เนื่องจากภูมิภาคนี้ตั้งอยู่ในบริเวณเส้นศูนย์สูตร ดังนั้นจึงมีอุณหภูมิเฉลี่ยรายวันหรือรายเดือนสูงสม่ำเสมอตลอดทั้งปี
ลักษณะภูมิอากาศที่สลับระหว่างความชุ่มชื้นในฤดูฝน และความแห้งแล้งในฤดูแล้งอย่างชัดเจน จะพบได้ในบริเวณประเทศส่วนต่อกับแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชีย ได้แก่ พม่า ไทย ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ที่อยู่เหนือละติจูด 10 องศาเหนือขึ้นไป ในฤดูฝนจะได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ รวมทั้งพายุที่พัดมาจากทิศตะวันออก ทำให้มีฝนตกชุกในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ส่วนในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายนจะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีนพัดพาเอาความแห้งแล้งเข้ามาสู่พื้นที่ ทำให้เห็นความแตกต่างของทั้งสองฤดู ในบางปีอาจมีพายุหมุนพัดเข้าสู่แผ่นดินใหญ่ทำให้มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง บริเวณที่ได้รับผลกระทบจากพายุก่อน เช่น ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และลาว จะได้รับผลกระทบมาก ทำให้เกิดภัยน้ำท่วมและแผ่นดินถล่ม
สำหรับประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวนมาก ได้แก่ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์นั้น จะได้รับอิทธิพลจากลมทะเลและพายุแบบต่าง ๆ เกือบตลอดทั้งปี จึงทำให้มีฝนตกชุก ยกเว้นบางบริเวณที่อาจจะมีอากาศแห้งแล้งได้บ้างเป็นระยะเวลาสั้น เช่น ทางตะวันออกของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย สำหรับประเทศฟิลิปปินส์พายุไต้ฝุ่นซึ่งมีทั้งความเร็วลมสูงและปริมาณน้ำฝนมาก พัดผ่านประเทศเป็นจำนวนมากกว่า 10 ลูกต่อปี ทำให้ประเทศได้รับผลกระทบที่รุนแรงเป็นประจำ

สิ่งแวดล้อม[แก้]

มังกรโคโมโดในอุทยานแห่งชาติโคโมโด
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะภูมิอากาศแบบอบอุ่น, ร้อนชื้น และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม สัตว์ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ค่อนข้างมีความหลากหลาย; บนเกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตราจะมีอุรังอุตังช้างเอเชียสมเสร็จไทยกระซู่ และเสือลายเมฆบอร์เนียวก็สามารถพบได้เช่นกัน หกสปีชีส์ย่อยของหมีขอมีถิ่นอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ อย่างไรก็ตามมันเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ที่เกาะปาลาวัน
เสือสามชนิดที่มีสปีชีส์ย่อยแตกต่างกันสามารถพบได้บนเกาะสุมาตรา (เสือโคร่งสุมาตรา), ในมาเลเซียตะวันออก (เสือโคร่งมลายู), และในอินโดจีน (เสือโคร่งอินโดจีน); โดยทั้งหมดถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ถูกคุกคาม
มังกรโคโมโดเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสปีชีส์กิ้งก่า และอาศัยอยู่บนเกาะโคโมโดเกาะรินจาเกาะฟลอเรส, และ Gili Motang ในอินโดนีเซีย
อินทรีฟิลิปปินส์เป็นนกประจำชาติของฟิลิปปินส์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าเป็นเหยี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก[11] และมีเฉพาะในป่าที่ฟิลิปปินส์เท่านั้น
ควายป่า และควายแคระบนเกาะที่แตกต่างกันพบได้เฉพาะที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น ในทุกวันนี้ควายสามารถพบได้ทั่วไปในภูมิภาค แต่ชนิดอื่นนั้นถูกคุกคามและหายาก
กระจง สัตว์คล้ายกวางที่มีขนาดไล่เลี่ยกับแมวหรือสุนัขพันธุ์เล็กสามารถพบได้บนเกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียว และเกาะปาลาวัน (ฟิลิปปินส์) ขณะที่กระทิงที่มีขนาดใหญ่กว่าควายป่าสามารถพบได้ที่อินโดจีนเป็นส่วนใหญ่
สัตว์ปีกอย่างนกยูงและนกแซงแซวอาศัยอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกอย่างอินโดนีเซีย ขณะที่หมูที่มีอวัยวะคล้ายงาสี่งาอย่างบาบิรูซ่าก็สามารถพบได้ที่อินโดนีเซียเช่นกัน ส่วนนกเงือกมักถูกส่งไปยังจีนเพราะมีจะงอยปากที่มีมูลค่าสูงเช่นเดียวกับนอของแรด ซึ่งถูกส่งไปจีนเช่นเดียวกัน
กลุ่มเกาะมลายูถูกผ่ากลางโดยเส้นวอลเลซ
บริเวณแนวปะการังน้ำตื้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือได้ว่าเป็นบริเวณที่มีระบบนิเวศทางทะเลหลากหลายและสมบูรณ์ที่สุดในโลก โดยเต็มไปด้วยปะการัง, ปลา, หอย และพวกหมึก ตามที่องค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนานาชาติได้ทำการสำรวจทะเลบริเวณราชาอัมพัตแล้วพบว่ามีความหลากหลายที่สุดในโลก และมากกว่าบริเวณอื่นอย่างสามเหลี่ยมปะการังของอินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และปาปัวนิวกินี โดยบริเวณสามเหลี่ยมปะการังนี้ถือได้ว่าเป็นหัวใจของแนวปะการังทั่วโลกเลยทีเดียว ทำให้ราชาอัมพุตเป็นบริเวณที่มีแนวปะการังมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ขณะที่ปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอย่างปลาฉลามวาฬและ 6 สปีชีย์ของเต่าทะเลสามารถพบได้ในทะเลจีนใต้ และดินแดนในมหาสมุทรแปซิฟิกของฟิลิปปินส์
พืชในภูมิภาคนี้เป็นแบบพืชเขตร้อน; ในบางประเทศที่มีภูเขาสูงพอสามารถพบพรรณไม้ต่าง ๆ ที่สมบูรณ์ ซึ่งพื้นที่ป่าหนาทึบในเขตร้อนซึ่งมีฝนตกมากเหล่านี้กำลังเผชิญกับปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า โดยเฉพาะบนเกาะบอร์เนียว
ขณะที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อุดมไปด้วยพรรณไม้และสัตว์ท้องถิ่นก็ต้องเผชิญกับปัญหาการทำลายป่าอย่างรุนแรง เป็นเหตุให้ที่อยู่อาศัยของสัตว์ถูกทำลายจนใกล้สูญพันธุ์เช่นอุรังอุตังและเสือโคร่งสุมาตรา คาดกันว่าสัตว์และพรรณไม้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่า 40% มีจำนวนลดลงในศตวรรษที่ 21[12] ในขณะเดียวกันเมฆหมอกเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ โดยมีความรุนแรงมากที่สุดในปี 1997 และ 2006 ซึ่งทั้งสองครั้งมีหลายประเทศได้รับผลกระทบจากหมอกที่หนาทึบที่ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาป่าในอินโดนีเซีย จนกระทั่งมีหลายประเทศร่วมลงนามในความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน โดยมีวัตถุประสงค์ในการลดมลหมอกพิษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประชากร[แก้]

แผนภูมิแสดงสัดส่วนของประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพื้นที่ประมาณ 4,000,000 ตารางกิโลเมตร (1.6 ล้านตารางไมล์) มีประชากรมากกว่า 593 ล้านคนในปี 2007 โดยกว่าหนึ่งในห้า (125 ล้านคน) อยู่บนเกาะชวาของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่มีความหนาแน่นที่สุดในโลก ด้วยความที่ประเทศอินโดนีเซียมีประชากรถึง 230 ล้านคน ทำให้เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นมากเป็นอันดับ 4 ของโลก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและศาสนาที่จะแตกต่างไปในแต่ละประเทศ มีชาวจีนโพ้นทะเล 30 ล้านคน อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ โดยที่เด่นชัดที่สุดคือที่เกาะคริสต์มาส, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย และไทย รวมถึงชาวฮั้วในเวียดนาม

กลุ่มชาติพันธุ์[แก้]

เด็กหญิงชาวอาติ
ในช่วงหลังชาวชวาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยจำนวนที่มากกว่า 86 ล้านคน โดยส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนที่พม่าจะมีชาวพม่าอาศัยอยู่มากกว่าสองในสามของประชากรทั้งหมด ขณะที่ชาวไทยและเวียดนามก็จะมีจำนวนราวสี่ในห้าของประเทศเหล่านั้น อินโดนีเซียนั้นถูกปกครองโดยชาวชวาและชาวซุนดา ขณะที่มาเลเซียจะมีชาวมลายูและชาวจีนในสัดส่วนที่ไล่เลี่ยกัน ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ที่สำคัญในฟิลิปปินส์ได้แก่ ชาวตากาล็อกชาวซีบัวโนชาวอีโลกาโน, และชาวฮิลิกายนอน

ศาสนา[แก้]

ชาวไทยพุทธในจังหวัดเชียงใหม่
ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยจำนวนประมาณที่มากถึง 240 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 40% ของประชากรทั้งหมด โดยส่วนมากจะอยู่ที่บรูไน, อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางศาสนา โดยศาสนาพุทธมีผู้นับถือเป็นจำนวนมากในไทย, กัมพูชา, ลาว, พม่า, เวียดนาม และสิงคโปร์ ลัทธิบูชาบรรพบุรุษและลัทธิขงจื๊อก็มีผู้นับถือมากในเวียดนามและสิงคโปร์ ส่วนศาสนาคริสต์ก็เป็นที่นิยมในฟิลิปปินส์, ภาคตะวันออกของอินโดนีเซีย, มาเลเซียตะวันออก และติมอร์-เลสเต โดยฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกมากที่สุดในเอเชีย ส่วนติมอร์-เลสเตก็นับถือนิกายโรมันคาทอลิกเช่นกัน เนื่องจากเคยตกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสมาก่อน
ศาสนาเป็นสิ่งที่หลากหลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไม่มีประเทศใดเลยที่มีผู้นับถือศาสนาเดียวกันทั้งหมด โดยประเทศที่มีชาวมุสลิมมากที่สุดในโลกอย่างอินโดนีเซียก็สามารถพบชาวฮินดูได้มากมายที่บาหลี โดยชาวฮินดูนั้นกระจายอยู่ทั่วภูมิภาคทั้งในสิงคโปร์, มาเลเซีย และประเทศอื่น ครุฑที่ว่ากันว่าเป็นพญาแห่งนก และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ก็เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของทั้งไทยและอินโดนีเซีย; ในฟิลิปปินส์สามารถพบรูปหล่อครุฑได้ที่ปาลาวัน; รูปหล่อเทพเจ้าฮินดูองค์อื่นก็สามารถพบได้ที่มินดาเนา สำหรับชาวฮินดูในบาหลีนั้นค่อนข้างแตกต่างจากชาวฮินดูแห่งอื่น โดยมีวัฒนธรรมในแบบของตนเองและมีความเชื่อเรื่องวิญญาณด้วย ส่วนชาวคริสต์นั้นสามารถพบได้ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยส่วนมากจะอยู่ที่ติมอร์-เลสเตและฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นชาติที่มีชาวคริสต์มากที่สุดในเอเชีย นอกจากนี้ยังมีชนเผ่าโบราณที่รัฐซาราวักในมาเลเซียตะวันออก และปาปัวที่ภาคตะวันออกของอินโดนีเซีย ในพม่ามีการบูชาพระอินทร์ในแบบที่เรียกว่า นัต ส่วนที่เวียดนามนั้นส่วนใหญ่จะเป็นศาสนาพุทธนิกายมหายาน ซึ่งเชื่อเรื่องวิญญาณ ยกเว้นเรื่องการบูชาความตาย
อินเดีย หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์พราหมณ์-ฮินดู (71%), พุทธคริสต์, ความเชื่อเรื่องวิญญาณ, อิสลามซิกข์
ธงชาติของบรูไน บรูไนอิสลาม (67%), พุทธ (13%), คริสต์ (10%), อื่น ๆ (ความเชื้อพื้นเมือง ฯลฯ) (10%)
ธงชาติของประเทศพม่า ประเทศพม่าพุทธนิกายเถรวาท (89%), อิสลาม (4%), คริสต์ (4%), ความเชื่อเรื่องวิญญาณ (1%), อื่น ๆ (2%)
ธงชาติของประเทศกัมพูชา กัมพูชาพุทธนิกายเถรวาท (95%), อิสลามคริสต์, ความเชื่อเรื่องวิญญาณ, อื่น ๆ (5%)
ธงชาติของเกาะคริสต์มาส เกาะคริสต์มาสพระพุทธศาสนา (36%), อิสลาม (25%), คริสต์ (18%), ลัทธิเต๋า (15%), อื่น ๆ (6%)
Flag of the Cocos (Keeling) Islands หมู่เกาะโคโคสอิสลามนิกายซุนนีย์ (80%), อื่น ๆ (20%)
 ติมอร์-เลสเตคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (90%), อิสลาม (5%), คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (3%), อื่น ๆ (พุทธพราหมณ์-ฮินดู, อื่น ๆ) (2%)
ธงชาติของอินโดนีเซีย อินโดนีเซียอิสลาม (86.1%), คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (5.7%), คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (3%), พราหมณ์-ฮินดู (1.8%), อื่น ๆ รวม พุทธ, ไม่ระบุ (3.4%) [13]
ธงชาติของลาว ลาวพุทธนิกายเถรวาท (65%) with ความเชื่อเรื่องวิญญาณ (32.9%), คริสต์ (1.3%), อื่น ๆ (0.8%)
ธงชาติของมาเลเซีย มาเลเซียอิสลาม (60.4%), พุทธนิกายมหายาน (19.2%), คริสต์ (9.1%), พราหมณ์-ฮินดู (6.1%), ความเชื่อเรื่องวิญญาณ (5.2%)
ธงชาติของปาปัวนิวกินี ปาปัวนิวกินีคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (27%), อีวานจีลิค ลูเทอแรน (20%), เธอะ ยูไนเต็ด เชิร์ช (12%), คริสต์นิกายเซเวนเดย์ แอดเวนติสต์ (10%), Pentecostal (9%), คริสต์นิกายอีแวนเจลิค (7%), คริสต์นิกายแองกลิกัน (3%), คริสต์นิกายอื่น ๆ (8%), อื่น ๆ (4%)
Flag of the Philippines ฟิลิปปินส์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (80%), อิสลาม (5%), คริสต์นิกายอีแวนเจลิค (2.8%), Iglesia ni Cristo (2.2%), Philippine Independent Church (Aglipayan) (2%), คริสต์นิกายอื่น ๆ (3%), อื่น ๆ (ความเชื่อดั้งเดิม, พุทธยิว, ไม่มีศาสนา, อื่น ๆ) (5%)
ธงชาติของสิงคโปร์ สิงคโปร์พุทธ (42.5%), อิสลาม (15%), ลัทธิเต๋า (8%), คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (4.5%), พราหมณ์-ฮินดู (4%), ไม่มีศาสนา (15%), คริสต์ (10%), อื่น ๆ (1%)
ธงชาติของไทย ไทยพุทธนิกายเถรวาท (94.6%), อิสลาม (4.6%), อื่น ๆ (0.8%)
ธงชาติของเวียดนาม เวียดนามพุทธนิกายมหายาน (78%), คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (7%), พุทธนิกายเถรวาท (5%), ศาสนาจ๋าว ได่ (2%), คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (1%), อื่น ๆ (ความเชื่อเรื่องวิญญาณ, ลัทธิฮวา ห่าวอิสลาม, ไม่มีศาสนา, อื่น ๆ ; 7%)

ภาษา[แก้]

ภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นแตกต่างกันไปตามอิทธิพลของสิ่งต่าง ๆ ได้แก่ การค้า, การย้ายถิ่นฐาน, และการเคยตกเป็นอาณานิคมในอดีต
การใช้ภาษาในแต่ละประเทศ มีดังนี้: (ภาษาทางการจะถูกจัดเป็น ตัวหนา)
ประเทศภาษา
 บรูไนมาเลย์, อังกฤษ, จีน, indigenous Borneian dialects[14]
 พม่าพม่า, ฉาน, กะเหรี่ยง, ยะไข่, กะฉิ่น, ชิน, มอญ, และภาษาพื้นเมืองอื่น ๆ
 กัมพูชาเขมร, ไทย, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนาม, Chamic dialects, จีน, และอื่น ๆ [15]
 เกาะคริสต์มาสอังกฤษ, จีน, มาเลย์[16]
 หมู่เกาะโคโคสอังกฤษ, โคโคสมาเลย์[17]
 ติมอร์-เลสเตเตตุมโปรตุเกส, อินโด, อังกฤษ, Mambae, Makasae, Tukudede, Bunak, Galoli, Kemak, Fataluku, Baikeno, และอื่น ๆ [18]
 อินโดนีเซียอินโด, ชวา, ซุนดา, มาเลย์, จีนฮกเกี้ยน, จีนกลาง, จีนฮากกา, จีนมินนาน, Cantonese, Acehnese, Batak, Minang, Banjarese, Sasak, Tetum, Dayak, Minahasa, Toraja, Buginese, Halmahera, Ambonese, Ceramese, Bare'e, ดัตถ์, อังกฤษ, ปาปวน, และอื่น ๆ [19]
 ลาวลาว, ไทย, เวียดนาม, ม้ง, Miao, เมี้ยน, Dao, ไทใหญ่; ฝรั่งเศส, อังกฤษ และอื่น ๆ [20]
 มาเลเซียมาเลย์อังกฤษ, จีนฮกเกี้ยน, จีนกลาง, ทมิฬ, จีนฮากกา, จีนกวางตุ้ง, จีนมินนาน, อินเดีย, ไทย, Iban, Kadazan, Banjarese, ชวา และอื่น ๆ [21]
 ฟิลิปปินส์ฟิลิปีโนอังกฤษ, สเปน, อารบิก, [22] ตากาล็อก, Cebuano (Boholano), Illonggo, Ilocano, Hiligaynon, Kapampangan, Bicol, Waray, Pangasinense, Chavacano, Aklanon, Asi (Bantoanon), Bangon, Capiznon, Ibanag, Itawis, Bangon, Bicolano (Albay), Bicolano (Bulan, Gubat, Irosin, Matnog, Sta Magdalena, Bulusan), Biko (Buhi), Bikol Central, Bisaya/Binisaya, Daraga/East Miraya Bikol, Oasnon/West Miraya Bikol, Bicolano (Iriga) Capiznon, Cebuano, Caviteño Chabacano Ternateño Chabacano, Zamboangueño Chavacano, Castellano, Abakay Chavacano, Cotabateñ Chavacano, Ermiteño Chabacano, Ilokano (Abagatan), Hiligaynon, Jama Mapun, Kapampangan, Kinaray-a, Manobo (Obo), Maranao, Pangasinan, Romlomanon (Ini), Sambal (Botolan), Sambal (Sambal), Sangil, Sinama, Surigaonon, Sorsoganon, Tayabas Tagalog, Tausug, Waray-Waray, Yakan[23] Philippines has more than a hundred languages and dialects.
 สิงคโปร์อังกฤษจีนกลางมาเลย์ทมิฬ, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว, Cantonese, Hakka, Shanghainese, other Indian languages, Arabic dialects, และอื่น ๆ
 ไทยไทย, ไทยถิ่นเหนือ, ไทยถิ่นอีสาน, ไทยถิ่นใต้, จีนแต้จิ๋ว, จีนหมิ่นหนาน, ฮักกา, กวางตุ้ง, อังกฤษ, มาเลย์, ลาว, เขมร, อีสาน, ไต, ลื้อ, ผู้ไทย, มอญ, พม่า, ชาวเขา, และอื่น ๆ [24]
 เวียดนามเวียดนาม, อังกฤษ, จีนหมิ่นหนาน, ฝรั่งเศส, ไทย, เขมร, mountain-area languages (Mon–Khmer and Malayo-Polynesian, Hmong) [25]

วัฒนธรรม[แก้]

ดูเพิ่มเติมที่: ซีเกมส์
วัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความหลากหลายเป็นอย่างมาก บนแผ่นดินใหญ่จะมีการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมอินเดียและจีน ส่วนอินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย และสิงคโปร์นั้นประกอบด้วยวัฒนธรรมอาหรับ, โปรตุเกส, สเปน, จีน, อินเดีย และวัฒนธรรมพื้นเมืองมลายู ส่วนบรูไนจะค่อนข้างแตกต่างจากประเทศอื่น เพราะได้รับอิทธิพลมากมายจากวัฒนธรรมอาหรับ
ในภูมิภาคนี้มีการทำนาข้าวมาแล้วนับพันปี เช่น นาข้าวบานัวที่เกาะลูซอน โดยนาข้าวต้องใช้ความมุมานะในการดูแลรักษาเป็นอย่างมาก และสามารถเข้ากับสภาพภูมิอากาศแบบมรสุมได้เป็นอย่างดี
บ้านยกบนเสาสูงสามารถหาได้ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ไทยและลาว, เกาะบอร์เนียว, เกาะลูซอนในฟิลิปปินส์, ไปจนถึงปาปัวนิวกินี โดยมีเทคนิกในการสร้างไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย รวมไปถึงด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ เช่น กริช และเครื่องดนตรี เช่น ระนาด

อิทธิพล[แก้]

วัฒนธรรมในภูมิภาคนี้ส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีนและอินเดีย โดยเวียดนามเป็นประเทศที่ได้รับอิทธิพลจีนชัดเจนที่สุด ส่วนวัฒนธรรมตะวันตกนั้นมีมากที่สุดที่ฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือมีการใช้กฎหมายแบบสเปนและอเมริกันด้วย
ด้วยความที่จีนมีอิทธิพลต่อเวียดนามมาเป็นเวลานาน เวียดนามจึงถูกจัดอยู่ในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกด้วย ธรรมเนียมปฏิบัติของชาวเวียดนามมีปรัชญาเอเชียตะวันออกเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลทางศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ นิกายมหายาน, ลัทธิขงจื้อ และลัทธิเต๋า ซึ่งเกิดขึ้นในจีนทั้งหมด นอกจากนี้ในเวียดนามยังนิยมใช้ตะเกียบในการรับประทานอาหารเช่นเดียวกับประเทศในเอเชียตะวันออกประเทศอื่น ๆ และอาหารเวียดนามส่วนใหญ่ก็ได้รับอิทธิพลจากจีนและฝรั่งเศสด้วย
โดยทั่วไปแล้วผู้คนที่รับประทานอาหารด้วยมือจะเป็นพวกที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียมากกว่าจีน ซึ่งรับประทานอาหารด้วยตะเกียบและมีชาเป็นเครื่องดื่ม นอกจากนี้น้ำปลาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังค่อนข้างมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ต่างจากภูมิภาคอื่น ๆ

ศิลปกรรม[แก้]

"เด็กขี่ควายเป่าฟลูต" ภาพวาดของเวียดนาม
นาฏศิลป์หลวงของกัมพูชา (กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี 2010)
ศิลปกรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แตกต่างจากภูมิภาคอื่นอย่างชัดเจน โดยส่วนใหญ่แล้วการร่ายรำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มักประกอบด้วยการเคลื่อนไหวของมือและเท้าตามอารมณ์และความหมายที่ต้องการสื่อให้ผู้ชมรับรู้ ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่นับว่าการรำเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมของพวกเขา โดยนาฏศิลป์หลวงของกัมพูชาเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นคริสตศตรรษที่ 7 ก่อนจักรวรรดิขแมร์ที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ค่อนข้างมาก เช่น ระบำอัปสราการเล่นหุ่นเงาเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีมาอย่างยาวนานถึงกว่าร้อยปีโดยรูปแบบหนึ่งที่รู้จักกันดีคือวายังของอินโดนีเซีย เช่นเดียวกันศิลปกรรมและวรรณกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางประเทศก็ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์มานับร้อยปีแล้ว
ชาวไทซึ่งย้ายถิ่นฐานมาในภายหลังได้นำประเพณีจีนบางอย่างเข้ามาด้วย แต่ก็ถูกกลืนไปด้วยประเพณีเขมรและมอญ โดยสิ่งเดียวที่บ่งชี้ได้ว่าพวกเขาเคยรับศิลปกรรมจากจีนมาก่อนคือรูปแบบของวัด โดยเฉพาะหลังคาแบบเรียว
แม้จะเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลามที่ต่อต้านลักษณะศิลปกรรมต่าง ๆ แล้ว แต่อินโดนีเซียก็ยังคงเหลือสิ่งที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์มากมายไม่ว่าจะเป็นหลักคำสอน, วัฒนธรรม, ศิลปกรรม และวรรณกรรม เช่น วายังกูลิต(หนังตะลุง) และวรรณกรรมอย่างรามายณะ ด้านส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ (ไม่รวมเวียดนาม) การรำ, เทพเจ้าตามความเชื่อฮินดู, ศิลปกรรม ก็ได้ถูกรวมเข้ากับวัฒนธรรมไทยกัมพูชาลาว และพม่า โดยสิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าศิลปกรรมโบราณเขมรและอินโดมีความเกี่ยวโยงกับการพรรณนาเรื่องราวชีวิตของเทพ นอกจากนี้ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรื่องราวชีวิตของเทพเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับชีวิตของพวกเขาทั้งความรื่นเริง, ลักษณะของโลก, การทำนายเรื่องราวที่ยังไม่เกิด

ดนตรี[แก้]

เด็กชายชาวไทยตีขิม
ดนตรีพื้นบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แปรเปลี่ยนไปตามชาติพันธุ์และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน โดยแนวดนตรีที่สามารถพบเห็นได้โดยส่วนใหญ่ ได้แก่ ดนตรีคอร์ท, ดนตรีโฟล์ก, แนวดนตรีของชนกลุ่มน้อย, และดนตรีที่ได้รับอิทธิพลจากภูมิภาคอื่น
สำหรับดนตรีคอร์ทและโฟล์กนั้น ฆ้องเป็นสิ่งที่สามารถหาชมได้ทั่วไปในภูมิภาค (ยกเว้นบริเวณพื้นที่ต่ำของเวียดนาม) กัมเมลัน ของอินโดนีเซีย, วงปี่พาทย์ ของไทยและกัมพูชา รวมทั้ง Kulintang ที่เป็นเครื่องดนตรีของทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์, เกาะบอร์เนียวเกาะซูลาเวซี และเกาะติมอร์ คือสามแนวดนตรีที่มีความโดดเด่นและมีอิทธิพลต่อดนตรีแนวอื่นในภูมิภาค นอกจากนี้ดนตรีแนวสตริงเป็นแนวที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นแนวทางที่ดีน้ะค้ะ

การเขียน[แก้]

อักษรบาหลีบนใบปาล์ม
วัฒนธรรมอินเดียเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้ชนพื้นเมืองได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนมาแต่ในอดีต โดยมีรูปแบบที่ปรากฏตระกูลอักษรพราหมี เช่น อักษรบาหลีที่ปรากฏบนใบปาล์ม
การเขียนในรูปแบบนี้ถูกเผยแพร่ออกไปตั้งแต่ก่อนที่กระดาษจะเกิดขึ้นราวประมาณปีที่ 100 ในจีน โดยบนใบปาล์มแต่ละใบจะประกอบด้วยตัวอักษรหลายบรรทัดเขียนไปตามความยาวของใบ และมีการใช้เชือกเรียงไปยังใบอื่น มีการตกแต่งบริเวณที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลาง ตัวอักษรของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่เป็นแบบอักษรสระประกอบ จนกระทั่งเมื่อมีชาวตะวันตกเข้ามา และมีการผสมผสานอย่างกลมกลืน ไม่ใช่แค่เสียงสระเท่านั้น แต่ยังรวมถึงรูปแบบเอกสารทางการที่ไม่ใช้กระดาษด้วย ได้แก่ คัมภีร์ทองแดงชวา ซึ่งมีความทนทานมากกว่ากระดาษในสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้